top of page

อัพเกรดความกังวลเป็นความตระหนักรู้ - จัดการความกังวล

โจทย์เริ่มจากสมการ


กังวล = โอกาสในการพัฒนาตัวเอง


ลงมือทำในสิ่งที่กังวล คือ การได้เดินออกจากคอมฟอร์ทโซนไปสู่เลิร์นนิงโซน


ความกังวลไม่ได้ส่งผลด้านลบเสมอไป

แค่เปลี่ยนความสัมพันธ์ที่มีต่อความกังวล


เมื่อลงมือทำในสิ่งที่กังวล ความกล้าหาญก็มีโอกาสได้เติบโต


มาเริ่มพัฒนาความสัมพันธ์รูปแบบใหม่กับความกังวลไปด้วยกัน


ความกังวลก็เหมือนการคิดเองเออเองว่าจะมีอะไรแย่ๆ เกิดขึ้น หรือ เป็น pattern ที่ร่างกายจดจำ จนตอบสนองตามความเคยชิน เช่น ความกังวลชอบเล่นใหญ่ เหมือนชีวิตแย่แน่ สมองรีบกดปุ่มเตือนภัยทันที เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน หรือ… สมองบางคนสั่งให้ใจเต้นแรง ร่างกาย freeze ชั่วขณะกับบางสถานการณ์ หรือ บางคนเวลากังวลโดยไม่รู้ตัวจะหงุดหงิดง่าย


นิสัยชอบคิดอะไรไปก่อนล่วงหน้าในทางร้าย จะพาชีวิตไปสู่ขอสรุปเดิมๆ คือ


ต้องระวังอันตราย! โลกนี้ไม่ปลอดภัย


ปิดโอกาสในการตั้งคำถามใหม่ๆ ที่จะช่วยพาชีวิตออกไปสู่การค้นพบทางเลือกใหม่


ความกังวลในบางคนลากยาว จนรบกวนการนอนในคืนนั้น หรือ มีนิสัยชอบคิดอะไรก่อนนอน จนนอนไม่ค่อยหลับ


บางคนกังวลจนเก็บไปฝัน


แม้จะกังวลจนติดเป็นนิสัยและถูกความกังวลเข้าครอบงำความคิดและร่างกายโดยอัตโนมัติได้ง่าย ก็สามารถปรับจูนใหม่ได้

เราต้องการหยุดการตอบสนองโดยอัตโนมัติของรูปแบบความคิดและร่างกายเวลากังวล เพื่อแทนที่วิธีคิดเดิมไปสู่วิธีคิดใหม่ๆ เวลาที่ความกังวลเริ่มก่อตัว


ท้ายที่สุด ความกังวลก็ไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่…ความกังวลที่เกิดขึ้นไม่ได้ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ หรือรบกวนการใช้ชีวิตอีกต่อไป


เมื่อความกังวลก่อตัว คุณภาพของความตระหนักรู้จะช่วยให้เราสามารถเอาชนะโหมดอัตโนมัติ จนสามารถมีสติให้ดึงตัวเองกลับมาเรียนรู้ที่จะยอมรับความไม่แน่นอนของชีวิต และอยู่ร่วมกับความกังวลที่เกิดขึ้นจนเกิดเป็นความรู้สึกสบายๆ เวลาที่รู้สึกกังวล ซึ่งก็คือความรู้สึกปลอดภัยในร่างกายนั่นเอง


เกิดความเห็นอกเห็นใจตัวเอง กลายเป็นคนที่ลดการตัดสินตัวเอง เกิด self-compassion


ความสามารถในการสังเกตประสบการณ์ทางความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นภายใน จะช่วยรีเซ็ตให้สมองและร่างกายเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ จนกลายเป็นความรู้สึกปลอดภัยในร่างกายเมื่อความกังวลเริ่มก่อตัว


เมื่อตระหนักถึงการพยายามควบคุมสิ่งที่อยู่เหนือการควบคุม


เมื่อตระหนักถึงสิ่งที่คิดไปเองในทางร้าย


ให้หยุด…แล้วสังเกตสัญญาณทางร่างกาย เช่น ใจเต้นเร็วขึ้น คอเกร็ง ไหล่ยกขึ้น เม้มปาก กลั้นหายใจ ฯลฯ


แล้วลองเขียนทุกประสบการณ์ที่เกิดขึ้นออกมาให้หมด จะช่วยให้จิตใจปลอดโปร่งโล่งสบายขึ้น


อิทธิพลของความกังวลที่เคยมีจึงถูก minimize ให้ง่ายต่อการรับมือ


อิสรภาพในการเลือกตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ เลยเกิดขึ้นตามมา


สมองสามารถเปิดโหมดการเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ ทำให้เข้าใจในสิ่งที่ตัวเองไม่เคยเข้าใจ


เปลี่ยนความกลัวเป็นความคิดสร้างสรรค์ เพราะทั้งความกลัวและความคิดสร้างสรรค์ล้วนต้องอาศัยการจินตนาการเหมือนกัน

สมองจะถอดรหัสข้อมูลที่รวบรวมมาจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของเราได้เต็มศักยภาพ ทำให้กระบวนการคิดชัดเจน เรียบง่าย มองเห็นความจริงได้เพิ่มขึ้น


รางวัลของการได้เลือกคือ ความสุขสงบในความคิดและร่างกาย ความเชื่อมั่นศรัทธาในตนเอง


บางคนหัวเราะจนหยุดไม่ได้ หัวเราะจนท้องแข็ง น้ำหูน้ำตาไหล ไปกับภาพความทรงจำที่ตัวเองเคยเล่นใหญ่ เข้มงวด เอาเป็นเอาตายกับเรื่องบางเรื่องในชีวิต


สมองได้มีเวลาพักเบรค มีเวลาดีๆ ในชีวิตเพิ่มขึ้นมาก ไม่ต้องเสียเวลาและพลังคิดวนเวียนให้ปวดหัว หรือไม่ต้องออกไปทำอะไร เมื่อกังวลเหมือนก่อน


เอาเวลาที่ได้กลับคืนมา ไปทำสิ่งที่อยากทำ ทำสิ่งที่ชอบ


ขยันฝึกสมองให้สามารถโฟกัสเห็นโอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่อยู่รอบตัว


เวลาเผลอคิดถึงเรื่องแย่ๆ ก็ให้ฝึกจินตนาการถึงสิ่งดีๆ ด้วย เพื่อให้เกิดสมดุลทางความคิด

เกิดอิสระจากมุมมองเดิมๆ ของตัวเอง เหมือนเป็นการฝึกย้ายโฟกัสมาสู่ด้านบวกของชีวิต


ใช้ร่างกายให้สมองได้พักเบรค
รักษาสมดุลความคิด

ขอให้คนที่กังวลง่าย สบายใจได้ เรามีเพื่อนอยู่ไม่น้อย


ลองมองความกังวลในมุมใหม่กัน


กังวลให้สุด แล้วกลับมาสนุกกับชีวิตอีกครั้ง

เป้าหมายของการฝึก ไม่ได้ให้ความกังวลหมดไปจากชีวิต แต่คือการฝึกให้สติมีกำลัง สามารถดึงตัวเองกลับมาสู่โหมดเรียนรู้ ตั้งคำถามที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ ลงมือทำอะไรเพราะอยากทำด้วยใจ ไม่ได้ทำเพราะถูกความกังวลผลักดัน


เมื่อเริ่มแยกแยะสิ่งที่ตัวเราควบคุมได้และสิ่งที่อยู่เหนือการควบคุม รวมทั้งเปลี่ยนวิธีรับมือกับความกังวล ชีวิตก็เปลี่ยนไป


โลกใบเดิมที่เต็มไปด้วยโอกาสและทางเลือกรอการค้นพบจากพวกเราอยู่


มอบประสบการณ์ใหม่ๆ เข้าไปแทนที่ประสบการณ์เดิมๆ ที่เคยทำให้เกิดความกังวลโดยอัตโนมัติ


โอกาสในการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ในมือของเราเอง


บางทีความกังวลกับความหยั่งรู้ก็อยู่ใกล้ๆ กัน

ใครที่อ่านมาถึงตรงนี้ อยากฝากคำถามให้ลองเริ่มถามตัวเองดู


ถ้าความกังวลเริ่มก่อตัว คุณอยากจะบอกกับตัวเองว่าอย่างไร?


ฝากแชร์ไอเดียในคอมเม้นกันหน่อยนะครับ ถ้ามีคำตอบผุดขึ้นมาตอนนี้


โปรดติดตามตอนต่อไป “แบบฝึกหัดพิชิตความกังวล”




ขอบคุณ cat on a paper ที่ช่วยวาดภาพประกอบบทความ

5 views0 comments
bottom of page