top of page

การจัดการความรู้สึกผ่านร่างกาย (Resilience of the Brain and Body)

เหตุการณ์ผ่านไปแล้ว แต่ความรู้สึกยังฝังใจ


การรับรู้ถึงความรู้สึกภายในร่างกายเป็นเรื่องยากสำหรับใครหลายคน แต่ไม่เกินความพยายาม

ถ้าเราไม่บล็อกความรู้สึกของเรา ทั้งโดยไม่ทันรู้ตัวและรู้ตัว


การจะรับรู้ข้อมูลที่เกิดขึ้นในร่างกายได้ โดยเฉพาะความรู้สึกทางร่างกาย (body sensation)


อาศัยการใส่ใจอย่างจดจ่อภายในร่างกายและรู้จักที่จะรอ จนความรู้สึกเคลื่อนตัว แล้วแกะรอยตามความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากจุดเริ่มต้นที่เริ่มสังเกตพบ


ให้เวลาความรู้สึกได้เดินทางไหลเวียนไปตามร่างกาย โดยแค่สังเกตประสบการณ์ที่เกิด


เมื่อการเดินทางของความรู้สึกภายในร่างกายจบลงโดยสมบูรณ์ ประโยชน์ที่ได้รับคือ การกลับมาเชื่อมโยงที่สมดุลกันของ พฤติกรรม-อารมณ์-ความคิด เพราะสมองจะกลับมารู้สึกปลอดภัย สบายใจอีกครั้ง

อารมณ์ความรู้สึกที่เคยยึดติดความเชื่อที่ไร้ประโยชน์ (Fixed mindset หรือ unconscious belief) เกิดการคลายตัว เกิดพื้นที่ว่างสำหรับความคิดใหม่ๆ


เกิด Growth mindset ที่ช่วยให้รับมือความท้าทายในชีวิตได้อย่างมั่นใจ


เมื่อความรู้สึกที่เคยตกค้างในร่างกายได้รับอิสระ พลังงานที่ติดขัดได้รับการปลดปล่อย ความมีชีวิตชีวาก็ไหลเวียนหล่อเลี้ยงร่างกาย


ทำให้เมื่อมีสิ่งกระตุ้นที่เคยทำให้อยู่ในภาวะตึงเครียด สมองจะกลับมาเลือกตอบสนองได้ยืดหยุ่นขึ้น

#####

การรับรู้ความรู้สึกในร่างกาย เป็นทักษะที่ฝึกได้ ถ้าเราเต็มใจปล่อยให้ประสบการณ์ทางความรู้สึกที่รู้สึกพึงพอใจและไม่พึงพอใจเกิดขึ้นภายในร่างกาย




4 views0 comments

Recent Posts

See All

คิดด้วยร่างกาย

การรับมือความเครียดในโลกปัจจุบันที่ผันผวนสูง ส่งผลให้สมองแบกรับภาระเกินกำลัง สมองเองมีข้อจำกัด ทั้งทางกายภาพและจิตใจ เช่น ประมวลความคิดได้ลดลงเวลาที่เหนื่อยล้า มีอคติทางความคิด รีบด่วนสรุป และสมองอาจม

bottom of page