top of page

Ep.2 โจทย์ของคนแต่ละเจนคืออะไร?

Updated: Sep 19, 2023


generational diversity
เข้าใจคนต่างเจน ด้วยความรู้สึกนึกคิดที่เปิดกว้าง

ไลฟ์สไตล์ของคนในยุคนี้ ต่างจากคนยุคก่อน


ชีวิตมีความ agile ต้องใช้ความพยายามในการปรับตัวสูง


ผู้นำเจอโจทย์ในการบริหารคนต่างเจนที่หลากหลาย


แล้วผู้นำจะบริหารคนต่างเจนอย่างไรให้สามารถทำงานร่วมกันได้


เพื่อให้คนทุกเจนสามารถปล่อยพลังได้เต็มที่ในการทำงาน


ก่อนตอบคำถามนี้ อยากชวนมาทำความเข้าใจ 5 ประเด็นที่มักซ่อนตัวอยู่เวลาองค์กรหรือผู้นำจะผลักดันวัฒนธรรม DEI ให้เกิดขึ้น


1. การรีบด่วนตัดสินว่าคนแต่ละเจนเป็นอย่างไร


ในงาน HR มีการพูดถึง generation gap มีการบอกว่าคนแต่ละเจนเป็นอย่างไร

ทำให้เวลาคนต่างเจนเกิดปัญหาในการทำงาน generation gap จึงตกเป็นสาเหตุของปัญหา


แนวคิดเรื่องคนต่างเจน มีประโยชน์ สามารถนำไปเป็นข้อสังเกตเริ่มต้นเวลาทำงานร่วมกับคนต่างเจน แต่ก็ต้องระวังการ “Stereotype” หรือ กลายเป็นอคติเวลามองคน เช่น "เด็กสมัยนี้ก็..."


แนวคิดเรื่องเจนอาจมีประโยนช์ในการอธิบายความเป็นไปของสังคมว่ามีแนวโน้มเป็นเช่นไร แต่ระวังอย่าให้แนวคิดนี้กลายมาเป็นกรอบความคิดในการบริหารคน เพราะสมองถูกพัฒนามาให้คิดวิเคราะห์ ทำให้เวลาฟังอะไรมีแนวโน้มรีบด่วนตัดสินและเหมารวม (Stereotype)


คนมีความซับซ้อน เทคนิคการบริหารคนแต่ละเจนอาจใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการพูดคุย

แต่...คน...ก็คือ...คน ต่างมีความต้องการที่ไม่ต่างกันมากนัก


value and motivation
คนแต่ละเจนให้ความสำคัญกับอะไรในการทำงาน

2. คุณภาพของความตระหนักรู้ในตนเอง


สถิติเรื่องความตระหนักรู้ของผู้นำ หาข้อสรุปได้ยาก แต่แนวโน้มส่วนมากคือ ผู้นำมีแนวโน้มประเมินความตระหนักรู้ในตนเองสูงเกินจริง และ ผู้นำที่มี Performance สูงมักประเมินตนเองต่ำกว่าความสามารถที่แท้จริงของตนเอง


เช่น ถ้าผู้นำมีมุมมองต่อตัวเองว่าเป็นคนใจดี คิดบวก ใส่ใจลูกน้อง


ถ้ามุมมองที่มีต่อตนเองกับพฤติกรรมที่แสดงออกสอดคล้องกัน ก็จะผลักดันให้เกิดการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ


แต่ถ้ามุมมองที่มีต่อตนเองกับพฤติกรรมที่แสดงออกสวนทางกัน ก็จะส่งผลเสียต่อการทำงาน


“Trust เกิดได้ยาก ถ้าผู้นำไม่ตระหนักถึงพฤติกรรมของตนเอง โดยเฉพาะจุดบอด”

เมื่อคนเป็นผู้นำ เร่ิมปรับจูนตัวเองก่อน การบริหารคนหลายเจนให้ทำงานร่วมกันได้ก็เป็นเรื่องง่ายขึ้น ทำให้ทีมทำงานร่วมกันด้วยความรู้สึกแฮปปี้


ขอฝากคำถามชวนคิดในประเด็นนี้ไว้ 2 คำถาม

  • ทำอย่างไรถึงจะทำให้เกิด self-awareness ในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีขึ้น?

  • แล้วจะใช้ self-awareness มาพัฒนาตนเองได้อย่างไรบ้าง?


3. การเปลี่ยนผ่านของยุคสมัย เทคโนโลยีทางการแพทย์ เศรษฐกิจ และสังคม


ไลฟ์สไตล์การดำเนินชีวิตของคนในยุคนี้ต่างจากเดิมไปมาก คนมีอายุยืนยาวขึ้น วงจรชีวิตเปลี่ยนไปจากเดิมคือ คนเรียนจบ-ทำงาน-เกษียณ กลายเป็นสารพัดเส้นทาง เกิดจุดเปลี่ยนผ่านชีวิตสลับไปสลับมา ทั้งการเรียน การทำงาน การพักเบรคการเรียนหรือการทำงาน การเกษียณ


ช่วงเปลี่ยนผ่านของชีวิต
ไลฟ์สไตล์ของคนที่เปลี่ยนไป

สภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ทำให้ประเด็นการจ้างงาน การดึงดูดและรักษาให้คนทำงานอยู่กับองค์กร การพัฒนาพนักงาน การดูแลให้พนักงานทำงานเต็มศักยภาพ เป็นสิ่งที่ทุกองค์กรต้องปรับตัว


4. ปัญหาความเครียดและสุขภาพจิต


ความท้าทายที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในชีวิตและการทำงาน ทำให้คนจำนวนมากประสบปัญหากับ "ภาวะเครียดต่อเนื่อง"


เกิดการถ่ายโอนความเครียดจากที่ทำงานสู่บ้าน จากบ้านสู่ที่ทำงาน


การรักษาสมดุลของร่างกายและจิตใจจึงทำได้ยากขึ้น


แถม mindset ต่อความเครียดและปัญหาสุขภาพจิตยังเป็นประเด็นที่โน้มเอียงไปทางด้านลบ


คนเครียดและมีปัญหาสุขภาพจิตทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัวเพิ่มจำนวนขึ้นมากในแต่ละองค์กร


ปัญหาความเครียดและสุขภาพจิตในหลายองค์กรจึงเป็นเหมือน “มีช้างอยู่ในห้องประชุม แต่กลับไม่มีใครมองเห็น”


5. ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยเต็มขั้น


คนวัยทำงานจำนวนไม่น้อย ต้องแบกรับภาระทางการเงินและจิตใจจากการดูแลพ่อแม่ที่เข้าสู่วัยชราและเลี้ยงดูลูกของตนเอง เกิดเป็น “แซนด์วิช เจนเนอเรชั่น”


ส่ิงที่สังเกตพบจากคนที่ตกเป็นแซนด์วิช เจนเนอเรชั่น มีหลากหลายเช่น รู้สึกหมดไฟในการทำงาน หรือ ปฏิเสธการเลื่อนตำแหน่งเพื่อให้มีเวลาได้ดูแลใกล้ชิดลูกหรือพ่อแม่ที่สูงวัย


จาก 5 ประเด็นที่กล่าวมา ล้วนมีความซับซ้อนในการทำความเข้าใจ คนแต่ละเจนต้องเผชิญความท้าทายสารพัด ผู้นำจึงต้องอัพเกรด soft skills ของตนเองให้สามารถใช้เหตุผลและความรู้สึกได้อย่างสมดุล เพื่อให้เกิดการสื่อสารและการตัดสินใจที่ช่วยส่งเสริมให้เกิด Ecosystem ขึ้นในการทำงานร่วมกัน


แล้วพบกันใน Ep.3 คนเป็นผู้นำจะผสานความต่างกันได้อย่างไร


generational diversity
เข้าใจคนต่างเจน ด้วยความรู้สึกนึกคิดที่เปิดกว้าง

References


Bratton, Virginia K., Nancy G. Dodd, and F. William Brown. “The Impact of Emotional Intelligence on Accuracy of Self‐awareness and Leadership Performance.” Leadership & Organization Development Journal 32, no. 2 (March 8, 2011): 127–149.


Tasha Eurich. What Self-Awareness Really Is (and How to Cultivate It). Harvard Business Review, Leadership & Managing People (January 04, 2018)




Comments


bottom of page