top of page

เป็นมิตรกับความเครียด (Stress Less)

Updated: Dec 21, 2022

เคยรู้ไหมว่าความเครียดช่วยปรับสมดุลในร่างกายของเราได้


ความเครียด แค่ได้ยินก็อยากจะเดินหนีกันแล้วใช่ไหม


ความเครียดมักถูกมองว่าเป็นตัวปัญหา สร้างผลเสียต่อสุขภาพทางร่างกายและจิตใจ


บางคนเครียดจนบ้านหมุน หูดับ ไมเกรน


บางคนเครียดเรื้อรัง ทำให้รบกวนการใช้ชีวิต เช่น ตื่นกลางดึก นอนไม่หลับ ไม่อยากตื่น หูอื้อ


บางคนมีปัญหาความสัมพันธ์จากการที่ React เร็ว


“ความเครียดไม่ใช่ตัวปัญหา ความเครียดเป็นเรื่องธรรมชาติ ร่างกายของทุกคนเกิดความเครียด

แต่ปัญหาสำคัญ คือวิธีในการรับมือกับความเครียดด้วย mindset ที่มองความเครียดเป็นตัวร้าย และอยากกำจัดความเครียดทิ้งไปด้วยวิธีการที่ฝืนธรรมชาติของร่างกาย”


อยากชวนมองความเครียดว่าเป็นภาษาที่ร่างกายใช้สื่อสารกับตัวเรา


ความเครียดช่วยส่งสัญญาณบอกให้ตัวเราปรับจูนวิธีคิด พฤติกรรมในการใช้ชีวิตให้สมดุล


จากประสบการณ์ทำ Workshop มาหลายปี จุดที่ค้นพบคือ “คนมักละเลยสัญญาณของความตึงเครียดที่เกิดขึ้นในร่างกาย”


ความเครียดเป็นวิธีสื่อสารของร่างกายกับตัวเรา ผ่านการไหลเวียนของสัญญาณไฟฟ้าและเคมีในระบบประสาทอัตโนมัติ หากตัวเรามีทักษะในการจับสัญญาณและเข้าใจภาษาของระบบประสาทอัตโนมัติที่สื่อสารกับร่างกาย จะช่วยให้การรับมือกับความเครียดในชีวิตแตกต่างไปจากเดิม


แล้ว "ระบบประสาทอัตโนมัติ" คืออะไรกัน


ในร่างกายมีระบบประสาทที่ตัวเราควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ ระบบประสาทอัตโนมัติอยู่ในส่วนที่ตัวเราควบคุมไม่ได้ ระบบประสาทอัตโนมัติเป็นเหมือนคนที่ชักใยอยู่เบื้องหลังของระบบหลอดเลือดและอวัยวะภายในร่างกาย เช่น การที่ใจสั่นหวิว โหวงๆที่ท้อง จุกที่คอ ปากแห้ง สมองขาวโพลนว่างเปล่า ตัวเกร็ง เข่าอ่อน ฯลฯ ล้วนเป็นผลมาจากการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติขณะที่ร่างกายเผชิญความเครียด


Sensing ของแต่ละคนแตกต่างกัน ทำให้ประสบการณ์ทางร่างกายในการรับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกต่างๆของแต่ละคนไม่เท่ากัน เกิดประสบการณ์ทางความรู้สึกในร่างกายที่แตกต่างกันไป


ในการทำ workshop “เป็นมิตรกับความเครียด” เราจะเรียนรู้ทักษะการใช้ร่างกายเพื่อเป็นเครื่องมือในการรับมือกับความเครียดตามศักยภาพที่ร่างกายมีอยู่แล้ว เพียงมาปรับจูนความแม่นยำในการรับรู้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในร่างกาย (Body Sensation) จัดระเบียบความคิด ให้สามารถรับรู้ได้แม่นยำ เวลาต้องการหยิบใช้ก็หาเจอและนำมาใช้ได้ง่าย


ร่างกายเป็นสิ่งมหัศจรรย์ ร่างกายมีศักยภาพในการรับมือกับความเครียด เพียงมาเรียนรู้กระบวนการการไหลเวียนของ “Body Sensation” ในร่างกาย


การรับมือกับความตึงเครียด (Stress Resilience) ก็จะกลายเป็นทักษะใหม่ที่เกิดขึ้นจากการฝึกฝนได้ (Resilience Skills)


สาโรช จรรยาแพทย์




 
 
 

Comments


bottom of page