Ep.3 คนเป็นผู้นำจะผสานความต่างกันได้อย่างไร (ตอนที่ 2/3)
ต่อจากบทความ “การบริหารคนต่างเจนให้ทำงานร่วมกันได้”
คนเป็นผู้นำจะช่วยสร้างวัฒนธรรม DEI ได้อย่างไร?
บทความนี้จะมาเล่าถึงประสบการณ์การทำงานพัฒนา soft skills ให้กับองค์กรต่างๆ มาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา
มี HR ถามว่า “ทำไมการปรับใช้ soft skills ในการทำงาน หลังจากที่พนักงานเข้าฝึกอบรม แต่ละคนจึงทำได้ไหลลื่นหรือติดขัดแตกต่างกัน”
บทความนี้เลยขอแชร์ประสบการณ์ให้คนที่ตั้งใจจะอัพเกรด soft skills และอยากเข้าใจถึงจุดติดขัดที่อาจเกิดขึ้น
ขอเร่ิมต้นจาก ประสาทสัมผัส (sensing)
sensing เป็นเหมือนความรู้ตัวพื้นฐาน ที่จะช่วยประคับประคองให้ตัวเราอยู่กับปัจจุบันขณะ ช่วยรักษาสมดุลทางความรู้สึกนึกคิด และพฤติกรรม รวมทั้งช่วยจับอารมณ์ความรู้สึกที่ถูกสื่อสารออกมาผ่านทางน้ำเสียงและภาษากายของคนที่คุยกับเรา
ทำไมถึงเริ่มต้นที่ sensing
เคยมีประสบการณ์แบบนี้กับตัวเองไหม?
ทำไมหัวหน้าบางคนถึงทำให้เราอยากบอกถึงสิ่งที่ติดอยู่ในใจ
ทำไมเขาถึงทำให้เราพูดอะไรออกมา ทั้งที่เราไม่เคยบอกเรื่องนี้กับใคร
ทำไมเค้าถึงถามคำถามอะไรที่ทำให้เราเกิด Aha moment! ได้
ทำไมสิ่งที่หัวหน้าพูดออกมา ถึงทำให้รู้สึกมีกำลังใจ ปลุกพลังในตัวเรา
และนี้คือพลังของ soft skills ที่อาศัยการรับรู้ข้อมูลที่มีคุณภาพผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
เมื่อสมองถอดรหัสข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมมาจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ก็จะเกิดเป็นความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรม และการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาภายในร่างกาย
การใส่ใจดูแลประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้ยังคงทำหน้าที่ได้สมดุล จะช่วยให้จับสัญญาณเล็กๆ ในชีวิตประจำวันได้ทัน เช่น คอแห้ง ปากแห้ง ใจเต้นแรง ไหล่ยกเกร็ง กัดฟัน จุกคอ ใจสั่น กลั้นหายใจ ปวดเกร็งตา รวมถึงความสามารถในการ sense ได้ถึงความรู้สึกที่ไม่ได้พูดออกมาของใครบางคน
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาภายในร่างกายเหล่านี้ คือ ภาษาของร่างกาย ที่เกิดขึ้นเวลาที่ร่างกายรู้สึกเครียด แต่การจับสัญญาณที่แผ่วเบาเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
ทุกครั้งที่ sensing ของเราตรวจจับสัญญาณการเปลี่ยนทางสรีรวิทยาภายในร่างกายได้
สมองก็จะสามารถรีเซ็ทตัวเองให้ออกจากโหมดระวังอันตรายสู่โหมดผ่อนคลาย
ร่างกายที่อยู่ในโหมดผ่อนคลาย ทำให้สมองอยู่ในโหมดเรียนรู้ แถมยังช่วยปรับจูนให้คนที่คุยด้วยรู้สึกปลอดภัย (psychological safety)
sensing จึงเป็นหัวใจสำคัญ ที่ช่วยให้ใช้ soft skills ได้ไหลลื่น
แล้วเราจะพัฒนา sensing ได้อย่างไร?
สมองมีความยืดหยุ่น สามารถพัฒนาและปรับเปลี่ยนได้ (Neuroplasticity) ถ้ามีการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง
เช่น ถ้าใครเคยรับประทานอาหารในห้องที่มืดสนิท จะรู้สึกว่ารับรู้รสชาติและกลิ่นของอาหารได้ละเอียดขึ้น หรือ ถ้าหลับตาอยู่ท่ามกลางธรรมชาติสักพัก หูจะเร่ิมได้ยินเสียงอื่นๆ เพิ่มขึ้น
มนุษย์สามารถพัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้เกิดการรับรู้และแยกแยะรายละเอียดที่แม่นยำขึ้นได้
จุดเริ่มต้นในการพัฒนา sensing มีได้หลากหลาย แต่ละคนจะมีเส้นทางพัฒนาในแบบของตนเอง
หัวใจสำคัญในการเริ่มต้นพัฒนา sensing คือ ทักษะการ "รีเซ็ท" ให้สมองและร่างกายกลับมารู้สึกปลอดภัย ผ่อนคลาย หลังจากที่เจอเรื่องเครียด
ลมหายใจที่ลึก นุ่มนวล สม่ำเสมอ จะช่วย "เปิดสวิตช์" การทำงานของระบบผ่อนคลาย เมื่อร่างกายผ่อนคลาย sensing ก็ทำงานได้ดีขึ้น
แล้วมีอะไรที่ทำให้ sensing ทำงานได้แย่ลง?
เมื่อร่างกายเครียดต่อเนื่อง ระดับฮอร์โมนความเครียด (cortisol) จะไปยับยั่งการรับรู้ข้อมูลของประสาทสัมผัสต่างๆ รวมทั้งไปรบกวนระบบประสาทการประมวลผลความรู้สึก และความสามารถในการบริหารจัดการอารมณ์
sensing ความสามารถในการสื่อสาร และการบริหารความเครียดจึงมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
self-awareness และ stress management จึงเป็นรากฐานสำคัญที่ช่วยพลิกเกมการทำงานให้ผู้นำสามารถอัพเกรดทักษะการสื่อสาร และ soft skills ให้ไหลลื่นได้
โปรดติตตามตอบจบของบทความ “เข้าใจคนต่างเจน ด้วยความรู้สึกนึกคิดที่เปิดกว้าง” ในสัปดาห์หน้านะครับ
References
Hubert R. Dinse, J.C. Kattenstroth, M. Lenz, M. Tegenthoff, O.T. Wolf. The stress hormone cortisol blocks perceptual learning in humans. Psychoneuroendocrinology, 2017; 77: 63 DOI: 10.1016/j.psyneuen.2016.12.002
Commentaires