ความอิจฉาเป็นเหมือนด่านหน้าที่คอยทำหน้าที่สื่อสารกับตัวเราว่า “ฉันอยากมีชีวิตแบบนี้บ้าง”
คนจำนวนไม่น้อย ค้นพบว่า แท้จริงแล้ว มีความรู้สึกเศร้าและไม่พึงพอใจในตัวเอง ซุกซ่อนตัวอยู่หลังความอิจฉา
แถมยังมี ความโกรธ การตัดสิน ความคิดเปรียบเทียบ ค่อยเป็นพาร์ทเนอร์ ทำงานแท็กทีมกับความอิจฉา
ความขัดแย้งในตัวเอง นิสัยคาดหวังสูงที่มีต่อตัวเองและคนรอบตัว เงื่อนไขสารพัดที่ทำให้การใช้ชีวิตยากเย็นเกินจำเป็น
การประมวลผลอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นทั้งหมด จะช่วยให้เร่ิมมองนิสัยของตัวเองออก ว่าอะไรเป็นตัวจุดชนวนให้คุณวนลูปอยู่ในวงจรที่ฉุดรั้งชีวิตตัวเองไว้แบบนี้
ถ้าความตระหนักรู้เป็นเหมือน “ไฟฉายวิเศษ” ลองใช้ไฟฉายวิเศษนี้ ส่องไปที่ดวงไฟแห่งความอิจฉา
เมื่อใช้ไฟฉายวิเศษส่องเข้าไปที่ดวงไฟแห่งความอิจฉา เราจะเห็นสิ่งที่ต้องการ อาจเป็นสุขภาพ งาน ความรัก ชีวิตแบบที่ต้องการ
เมื่อเคลียร์อารมณ์ตกค้าง และเงื่อนไขต่างๆ ภายในตัวเองได้ ก็จะเกิดที่ว่างพอให้สมองได้ใช้ตรรกะเหตุผลและความรู้สึกได้อย่างสมดุล
ปรับเปลี่ยนวิธีคิดที่มีต่อความอิจฉา ปรับมุมมองที่มีต่อตัวเองและผู้อื่น
มีความสุขและรู้สึกขอบคุณกับสิ่งที่มี สิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ฝึกรับรู้สิ่งดีๆ รอบตัวในปัจจุบัน ความรู้สึกขาดในใจจะค่อยๆ ได้รับการเติมเต็มด้วยตัวเราเอง
รู้จักตั้งคำถาม เช่น ฉันอยากได้สิ่งนี้จริงเหรอ ฉันอยากได้สิ่งนี้ไปเพื่ออะไร สิ่งนี้สำคัญกับฉันจริงๆ ไหม
คุณอาจค้นพบว่า ตัวเองกำลังวิ่งตามเส้นทางชีวิตของคนอื่นอยู่ หรือ อยากได้ในสิ่งที่ตัวเองไม่ได้ต้องการจริงๆ
เมื่อได้สติ ก็ถึงเวลาที่คุณหันมาใส่ใจสิ่งที่ต้องการอย่างแท้จริง เริ่มออกแบบเส้นทางชีวิตในแบบของคุณเอง ตัวตนที่คุณอยากเห็นตัวเองเป็น เริ่มเลือกใช้ชีวิตในแต่ละวันอย่างมีความหมาย
อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดเป็นสิ่งซับซ้อน จึงขอทิ้งท้ายด้วย
“แม้อารมณ์จะให้ข้อมูลสำคัญ แต่อารมณ์ก็ต้องได้รับการตรวจสอบอยู่เสมอ” เพื่อให้ตัวเราสามารถกลั่นกรองข้อมูลที่มีประโยชน์มาปรับใช้ในชีวิตได้แม่นยำเพิ่มขึ้น
ใครที่มีความอิจฉาเกิดขึ้น บางทีก็ไม่ต้องรู้สึกผิดหรือละอายใจหรอกครับ มันเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับคนทั่วไป
ความอิจฉาก็มีมุมที่เป็นประโยชน์อยู่เหมือนกัน
ขอบคุณ cat on a paper ที่ช่วยวาดภาพประกอบบทความ
Comments