top of page

ความเครียด และ พฤติกรรมการเสพติด

Updated: May 8, 2023


ความเครียดเป็นพลังงานที่ต้องรับรู้สัมผัสเพื่อให้เกิดการไหลเวียน


การพยายามควบคุมความเครียด มักเป็นที่มาให้เกิดพฤติกรรมการเสพติด กลายเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง เพื่อคลายเครียด เช่น


การช้อปปิ้ง การกดปุ่มซื้อสินค้าออนไลน์ การกินมากเกินไป การอยากกินของหวาน การใช้เงินเกินตัว การติดมือถือ แอลกอฮอล์ บุหรี่ เซ็กซ์ โซเชียลมีเดีย เกมส์ ซีรี่ย์ ยานอนหลับ ยาแก้ปวด งาน การทำตัวยุ่ง การเก็บสะสมสิ่งของ ศัลยกรรมความงาม


การเสพติดไม่ได้ผิดอะไร ถ้ารู้จักใช้บรรเทาความเครียดเพียงชั่วคราว แต่ในระยะยาว การหันมาทำความเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกที่คั่งค้างอยู่ภายใน และเต็มใจที่จะรู้สึก เพื่อคัดกรองข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากอารมณ์ความรู้สึกมาเป็นเบาะแสในการเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น


การบอกเล่าเรื่องราวของความยุ่งเหยิงในจิตใจออกมาเป็นคำพูดที่เข้าใจง่าย จะช่วยทำให้สมองรับมือกับเหตุการณ์ที่สร้างความตึงเครียดในครั้งต่อไปได้ง่ายขึ้น


ส่วนกำแพงทางความคิดที่พบบ่อยในการพัฒนาสมรรถนะในการจัดการความเครียด คือ


“ความเครียดเป็นสิ่งไม่ดี”


“อยากให้ความเครียดหายไปเร็วๆ”


“พยายามไม่เครียด”


“อารมณ์ลบเป็นสิ่งไม่มีประโยชน์”


พฤติกรรมการเสพติดต่างๆช่วย ทำให้ไม่ต้องรู้สึกถึงความเครียดในร่างกาย แต่ความตึงเครียดที่ถูกกดทับไว้จะไม่หายไปไหน แถมยังก่อปัญหาสุขภาพร่างกายและจิตใจ แต่ข้อดีของการรับมือกับความเครียดด้วยการเสพติดพฤติกรรมต่างๆคือช่วยให้จิตใจรู้สึกดีขึ้นได้อย่างรวดเร็วทันใจ


การรู้จักทบทวนตัวเอง ผ่านการตั้งคำถาม


“พฤติกรรมการเสพติดช่วยให้รู้สึกดีได้อย่างไร?”


“มีอารมณ์ความรู้สึกใดที่ถูกระงับไว้?”


“แล้วจะรับมือความเครียดที่เกิดขึ้นให้ต่างออกไปจากเดิมได้อย่างไร?”


มาคลายปมความเครียดที่ฝังลึกอยู่ในความคิดและร่างกาย


กรองสิ่งกระตุ้นความเครียดที่ไม่มีความสำคัญออกไป ลดความเครียดส่วนเกินในชีวิต


มองเห็นเสน่ห์ของความเครียดตามธรรมชาติที่ช่วยให้จิตใจเกิดความกระตือรือร้น มีสมาธิ จดจ่อกับเป้าหมายที่สำคัญ

18 views0 comments

コメント


bottom of page